29 ก.ย. 2562

สาเหตุการของอาการปวดเมื่อย

Golden Crown
 กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40 % ของน้ำหนักตัว และมีถึง 696 มัด ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบว่า ประชากรโดยทั่วไป

ประมาณ 30 % ขึ้นไปมีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆ

     อาการปวดจากกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น ปวดมากจนขยับร่างกายส่วนนั้นๆ ไม่ได้เลย ปวดหนักๆ ปวดเสียว ปวดเมื่อยล้าง่าย

ปวดตึง ปวดหรือเสียวแปล๊บเมื่อเอื้อมแขนหรือยกแขนในบางอิริยาบถ ปวดเมื่อเอี้ยวตัว เช่น เอื้อมหยิบของที่อยู่สูง เอี้ยวหยิบของไกลตัว เป็นต้น

อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็นๆ หายๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือ

เมื่อยล้ามากในช่วงเย็น  ในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

Golden Crown
สาเหตุ

สาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่มีการหดรั้ง หรือยึดตึง

ลักษณะท่าทางที่ผิดปกติ เช่น ไหล่ห่อ ไหล่งุ้ม

การเกร็งใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นนิ่งอยู่นาน เกินขีดความสามารถ (ความแข็งแรง ทนทาน)ของกล้ามเนื้อนั้นที่จะทนได้ เช่น การนั่งเขียนหนังสือนาน

เป็นหลายชั่วโมง  นั่งทำงานคอมพิวเตอร์ตลอดวัน  เป็นต้น

การใช้โต๊ะ เก้าอี้ ที่ไม่เหมาะสม ผิดสัดส่วน โต๊ะสูงหรือเตี้ยเกินไป แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือที่วางเมาส์ วางสูงเกินไป ทำให้ต้องยกไหล่

อยู่ตลอดเวลา เอื้อมเกร็งจับเมาส์ที่อยู่ไกล

ภาวะ หรือ โรคบางอย่างก็ก่อให้เกิดกล้ามเนื้อยึดตึงกดเจ็บได้ เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหารหรือได้รับไม่เพียงพอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดวิตามิน โรคกระดูกก้านคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทของไหล่ข้างนั้นๆ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ภาวะหลังผ่าตัดทรวงอก เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดปอด

ภาวะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ

ภาวะความเครียดไม่ว่าจะทางกาย หรือ ใจ

จะตรวจพบว่า กล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุของอาการ จะมีจุดกดเจ็บ ซึ่งบางครั้งอาจคลำได้คล้ายก้อน หรือ คล้ายมีเชือกที่ขึงตึงอยู่ในกล้ามเนื้อนั้น

เมื่อกดนิ้วลงที่จุดกดเจ็บอาจเห็นการกระตุกสั้น ๆ ได้ สิ่งที่มักจะตรวจพบร่วมด้วย คือ  มีการติดยึด หดรั้ง ขยับเคลื่อนไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ไม่สุด

(ในกรณีที่เป็นไม่มาก) เช่น ข้อไหล่ติด หลังแข็งก้มลำบาก เป็นต้น

การรักษา  จะต้องทำร่วมกันดังนี้

ในระยะแรกที่ปวดมากมักให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

การคลายจุดกดเจ็บ ซึ่งทำได้หลายวิธี  คือ

          2.1 การใช้เข็มฉีดยาคลาย อาจจะใช้ยาชาช่วยทำให้ไม่เจ็บขณะทำก็ได้

          2.2 การใช้เข็มเล็กบางคลายจุด

          2.3 การสเปรย์ด้วยความเย็นพร้อมกับยืดกล้ามเนื้อ

   
Golden Crown
      2.4 การนวด เช่น นวดกดจุด นวดคลึง อาจใช้ยานวดร่วมด้วยได้ ผู้ที่มีอาการปวดๆเมื่อยๆแถวหัวไหล่ ให้ลองคลำหาจุดกดเจ็บเอง

             ตามรูปที่แสดงไว้  ถ้าเป็นไม่มากให้ลองคลายจุดด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือนวดคลึงตามจุดที่แสดงไว้ในกล้ามเนื้อเหล่านี้

             นวดเสร็จแล้วก็บริหารยืดกล้ามเนื้อนั้นๆ จะใช้ประคบผ้าเย็นสัก 20 นาทีก็ได้ จะทานยาพาราเซตามอล(Paracetamol)

             สักหน่อยก็ดี  น่าจะทำให้ทุเลาได้ไม่น้อย  ถ้าไม่แน่ใจจึงจะไปพบแพทย์

          2.5 การใช้เครื่องมือและเทคนิคทางกายภาพบำบัด ซึ่งจะได้เห็นตัวอย่างในนิทรรศการ “หลากหลายวิธีคลายปวด” เช่น

            ultrasound,  laser therapy, TENS เป็นต้น

       3. การฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ มีความยืดหยุ่นที่ดี และเพิ่มความแข็งแรงทนทานต่องานในชีวิตประจำวันต่างๆ ด้วยการบริหารยืด

         คลายกล้ามเนื้อ  แล้วตามด้วยการบริหารต้านน้ำหนักเมื่ออาการปวดลดลงในเวลาต่อมา  (รายละเอียดในบท “การบริหารหัวไหล่”)

       4. สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ คือ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขท่าทางอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น

         ไม่ควรมีท่าทางไหล่งุ้มหรือห่อไหล่ไปข้างหน้า รวมทั้งเปลี่ยนแปลง หรือ จัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ รอบตัว

         ให้รับกับท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดตึงต่อกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดการบิดใช้กล้ามเนื้อที่ผิดแนว การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

         เช่น ทุก ๆ 15-20 นาที  เพื่อให้กล้ามเนื้อที่หดตัวอยู่ได้ผ่อนคลายออกบ้าง

25 ก.ย. 2562

14 มัดกล้ามเนื้อที่ผู้เล่นฟิตเนสควรรู้

1.คอ (Neck)
กล้ามเนื้อคออยู่ระหว่างศรีษะและไหล่ การบริหารอาจใช้ท่าเริ่มต้นจำพวกหมุนคอ ยืดคอทั่วไปโดยไม่ต้องมีน้ำหนักถ่วงสำหรับผู้เริ่มต้น


มงกุฎทอง GoldenCrown





2.อก (Chest)
กล้ามเนื้อหน้าอก เป็นกล้ามเนื้อมัดสำคัญที่ทุกคนมักจะฝึก เป้าหมายเพื่อให้กล้ามอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ไม่ว่าจะระดับเริ่มต้นหรือระดับโปร การฝึกกล้ามอกนอกจากได้ความแข็งแรงแล้ว กล้ามอกยังส่งเสริมการแต่งตัวให้ดูดี ดึงดูดหน้าสนใจด้วย


มงกุฎทอง Golden Crown





3.หลังส่วนบน (Trapezius  หรือ Traps)
ใครที่ไหล่ห่อต้องฝึกกล้ามเนื้อหลังส่วนบนให้มาก ถ้ากล้ามเนื้อนี้แข็งแรงขึ้นอาการไหล่ห่อจะลดลงและหายไปในที่สุด



มงกุฎทอง Golden Crown






4.หลัง (Back)
กล้ามเนื้อส่วนกลางและล่าง คนที่เป็นโรคออฟฟิสซินโดรม (office syndrome) จะมีปัญหากับกล้ามเนื้อมัดนี้มาก เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง พอเวลาเรานั่งทำงานนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อนี้เกร็ง-แข็ง-ตึง จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้


มงกุฎทอง Golden Crown




5. ปีก (Lat)
ถ้าใครอยากมีรูปร่างเป็นตัว V สวยๆ ก็ต้องเน้นการฝึกกล้ามเนื้อปีกให้ใหญ่กว่ากล้ามเนื้อหลัง ประโยชน์อื่นของกล้ามเนื้อปีกนอกจากความสวยงามแล้ว ก็ยังช่วยพยุงและช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ลดอาการปวดต่างๆได้



มงกุฎทอง  Golden Crown



6.ไหล่ (Shoulder หรือ Deltoids)
กล้ามเนื้อไหล่มีหลักๆ 3 มัด หน้า/กลาง/หลัง ใครอยากมีไหล่ใหญ่ สมส่วนก็ต้องใส่การฝึกไหล่ เช่น  shoulder press, front raise ไว้ในโปรแกรมการฝึกด้วย
การฝึกไหล่ถ้าฝึกควบคู่กับหลังส่วนบน ก็จะช่วยแก้อาการไหล่ห่อ และเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดีขึ้นได้



มงกุฎทอง Golden Crown




 7.หน้าแขน (biceps )
หน้าแขนกล้ามเนื้อยอดนิยมที่ใครๆ ก็ฝึก (เพราะไม่รู้จะฝึกท่าไหน) ถ้ากล้ามเนื้อหน้าแขนมีขนาดใหญ่ จะทำให้เรามีกล้ามป็อบอายเท่ๆ ไว้อวดใครๆได้



มงกุฎทอง Golden Crown




8.หลังแขน (triceps)
หลังแขนเป็นกล้ามเนื้อขวัญใจของสาวๆ ไม่ว่ามองไปที่ไหน สาวๆ ก็มักจะฝึกกล้ามเนื้อมัดนี้เพื่อลดเซลลูไลท์ (Cellulite) ที่มักจะไปกองที่หลังแขน เพื่อให้แขนเฟิร์มใส่เสื้อแขนกุดให้ดูดีขึ้น
ส่วนผู้ชายใครต้องการให้มีแขนใหญ่ให้เน้นฝึก triceps มากกว่า biceps มีนักเล่นกล้ามมืออาชีพแนะนำว่า การฝึก triceps จะทำให้แขนโดยรวมมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าเน้น biceps เพียงอย่างเดียว







9.แขน / ข้อมือ (Forearm /Wrist)
กล้ามปลายแขน และข้อมือเป็นกล้ามเนื้อที่คนมักละเลยการฝึก บางคนเน้นฝึก biceps / triceps มากเกินไป ทำให้ต้นแขนใหญ่กว่าปลายแขน ทำให้แขนมีรูปร่างไม่สมส่วน  ดังนั้นก็อย่าลืมใส่โปรแกรมการฝึกปลายแขนเช่น farmer walk หรือ wrist curl ด้วย
การฝึกแขนและข้อมือมากๆ ก็มีผลดีช่วยให้เราสามารถมีแรงจับดัมเบลหรือบาร์เบลได้แน่นและน้ำหนักมากยิ่งขึ้น  ถ้าไม่ฝึกข้อมือเลยก็จะไม่มีแรงยกดัมเบลลูกใหญ่ๆ ได้


มงกุฎทอง Golden Crown







10.ท้อง (Abs)
กล้ามเนื้อที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะได้มานั้นก็คือ six packs  ปกติคนเราจะมีกล้ามท้องนิดๆ อยู่แถล้วแต่มองไม่เห็นเนื่องจากมีไขมันปกคลุม ดังนั้นถ้าอยากมี six packs วิธีง่ายๆ ก็คือการไปคาร์ดิโอลดไขมันซะ
แต่ถ้าต้องการให้กล้ามท้องมีขนาดใหญ่ และลายสวยงามชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จำเป็นต้องออกกำลังกายกล้ามท้องด้วย เช่น Crunch, Sit Up และ Plank



มงกุฎทอง Golden Crown




11.สะโพก/ก้น (Glutes )
กล้ามเนื้อก้นเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายเราเป็นขุมพลังในการพยุงตัว และส่งพลังต่อไปช่วยกล้ามเนื้ออื่นๆ  ทำให้เราออกแรงได้มากขึ้น  และเมื่อก้นแข็งแรงขึ้น ก็จะได้ประโยชน์ทางอ้อมคือ ก้นเรียวเด้งสวยงาม เป็นที่ดึงดูดต่อเพศตรงข้าม



มงกุฎทอง Golden Crown



12.ต้นขา (Quads)
ต้นขาเป็นอีกกล้ามเนื้อที่สำคัญที่มีผลต่อบุคลิกภาพ บางคนอ้วนไม่ได้ลงพุง แต่ไขมันมากองที่ต้นขา ทำให้ใส่การเกงแล้วดูไม่สวยงาม
นอกจากความสวยงามแล้วกล้ามเนื้อต้นขายังเป็นบ่อกำเนิดพลัง ทำให้เราทำกิจวัตรประจำวันหรือออกกำลังกาย เช่นนักวิ่งส่วนใหญ่มักจะมีการฝึกต้นขาเป็นประจำ เพื่อให้สามารถวิ่งได้ดีขึ้น อึดขึ้น


มงกุฎทอง Golden Crown




13.ขาด้านหลัง (Hamstring)
กล้ามเนื้อขาด้านหลัง เป็นกล้ามเนื้อที่ใช้งานบ่อย เพราะเป็นกล้ามเนื้อหลักที่ใช้ในการเดิน ควบคู่กับต้นขา เวลาเรารู้สึกปวดขาปวดเข่า ก็เนื่องจากกล้ามเนื้อขาด้านหลังและต้นขามีความตึงตัว  การยืดกล้ามเนื้อต้นขาและขาด้านหลังด้วยท่ายืนก้ม (ยืนแล้วก้มตัวเอามือแตะปลายเท้า) จะช่วยบรรเทาอาการปวดขาโดยรวมได้


มงกุฎทอง Golden Crown




14.น่อง (Calves)
บทบาทหลักของกล้ามเนื้อน่องคือการสร้างความสมดุลให้หัวเข่าและข้อเท้า ดังนั้นการบริการกล้ามเนื้อน่อง ก็จะสามารถทำให้เราทรงตัวหรือออกแรงยกน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น
สาวๆ มักจะมีการใช้กล้ามเนื้อน่องหนักมาก เพราะการใส่รองเท้าส้นสูง เพิ่มภาระให้กล้ามเนื้อน่องมากขึ้นนั่นเอง

มงกุฎทอง Golden Crown







    ทีนี้เราก็รู้จักกล้ามเนื้อมัดหลักๆ ทั้ง 14 มัดแล้ว  ว่ากล้ามเนื้อแต่ละมัดมีชื่อเรียกอย่างไร และอยู่บริเวณไหน

17 ก.ย. 2562

น้ำมันนวดสมุนไพร



สมุนไพร

พืชสมุนไพร : ไพล


      ไพล หรือปูลอย ปูเลย มิ้นสะล่าง ว่านไฟ  ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. หรือ Zingiber cassumunar Roxb. วงศ์ Zingiberaceae  ชื่อภาษาอังกฤษ Cassumunar ginger, Bengal root หรือใช้ทับศัพท์ว่า Phlai   เป็นสมุนไพรตัวหนึ่งในบัญชียาจากสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2554 กลุ่มที่ 2 บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร กลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ยาสำหรับใช้ภายนอก ได้แก่

        - ตำรับยาครีมไพล ประกอบด้วยน้ำมันไพลที่ได้จากการกลั่น ร้อยละ 14 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก (v/w)

        - ยาน้ำมันไพล สารสกัดน้ำมันไพลที่ได้จากการทอด (hot oil extract) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในตำรับ ซึ่งเป็นสูตรเภสัชตำรับของโรงพยาบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในตำรับ ซึ่งเป็นสูตรเภสัชตำรับของโรงพยาบาล


          ข้อบ่งใช้ ของทั้งสองตำรับคือ บรรเทาอาการ ปวดเมื่อย บวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก การอักเสบของเอ็น กล้ามเนื้อและข้อต่อ