กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40 % ของน้ำหนักตัว และมีถึง 696 มัด ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบว่า ประชากรโดยทั่วไป
ประมาณ 30 % ขึ้นไปมีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆ
อาการปวดจากกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น ปวดมากจนขยับร่างกายส่วนนั้นๆ ไม่ได้เลย ปวดหนักๆ ปวดเสียว ปวดเมื่อยล้าง่าย
ปวดตึง ปวดหรือเสียวแปล๊บเมื่อเอื้อมแขนหรือยกแขนในบางอิริยาบถ ปวดเมื่อเอี้ยวตัว เช่น เอื้อมหยิบของที่อยู่สูง เอี้ยวหยิบของไกลตัว เป็นต้น
อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็นๆ หายๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือ
เมื่อยล้ามากในช่วงเย็น ในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
สาเหตุ
สาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่มีการหดรั้ง หรือยึดตึง
ลักษณะท่าทางที่ผิดปกติ เช่น ไหล่ห่อ ไหล่งุ้ม
การเกร็งใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นนิ่งอยู่นาน เกินขีดความสามารถ (ความแข็งแรง ทนทาน)ของกล้ามเนื้อนั้นที่จะทนได้ เช่น การนั่งเขียนหนังสือนาน
เป็นหลายชั่วโมง นั่งทำงานคอมพิวเตอร์ตลอดวัน เป็นต้น
การใช้โต๊ะ เก้าอี้ ที่ไม่เหมาะสม ผิดสัดส่วน โต๊ะสูงหรือเตี้ยเกินไป แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือที่วางเมาส์ วางสูงเกินไป ทำให้ต้องยกไหล่
อยู่ตลอดเวลา เอื้อมเกร็งจับเมาส์ที่อยู่ไกล
ภาวะ หรือ โรคบางอย่างก็ก่อให้เกิดกล้ามเนื้อยึดตึงกดเจ็บได้ เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหารหรือได้รับไม่เพียงพอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดวิตามิน โรคกระดูกก้านคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทของไหล่ข้างนั้นๆ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ภาวะหลังผ่าตัดทรวงอก เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดปอด
ภาวะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ
ภาวะความเครียดไม่ว่าจะทางกาย หรือ ใจ
จะตรวจพบว่า กล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุของอาการ จะมีจุดกดเจ็บ ซึ่งบางครั้งอาจคลำได้คล้ายก้อน หรือ คล้ายมีเชือกที่ขึงตึงอยู่ในกล้ามเนื้อนั้น
เมื่อกดนิ้วลงที่จุดกดเจ็บอาจเห็นการกระตุกสั้น ๆ ได้ สิ่งที่มักจะตรวจพบร่วมด้วย คือ มีการติดยึด หดรั้ง ขยับเคลื่อนไปในทิศทางต่าง ๆ ได้ไม่สุด
(ในกรณีที่เป็นไม่มาก) เช่น ข้อไหล่ติด หลังแข็งก้มลำบาก เป็นต้น
การรักษา จะต้องทำร่วมกันดังนี้
ในระยะแรกที่ปวดมากมักให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย
การคลายจุดกดเจ็บ ซึ่งทำได้หลายวิธี คือ
2.1 การใช้เข็มฉีดยาคลาย อาจจะใช้ยาชาช่วยทำให้ไม่เจ็บขณะทำก็ได้
2.2 การใช้เข็มเล็กบางคลายจุด
2.3 การสเปรย์ด้วยความเย็นพร้อมกับยืดกล้ามเนื้อ
2.4 การนวด เช่น นวดกดจุด นวดคลึง อาจใช้ยานวดร่วมด้วยได้ ผู้ที่มีอาการปวดๆเมื่อยๆแถวหัวไหล่ ให้ลองคลำหาจุดกดเจ็บเอง
ตามรูปที่แสดงไว้ ถ้าเป็นไม่มากให้ลองคลายจุดด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือนวดคลึงตามจุดที่แสดงไว้ในกล้ามเนื้อเหล่านี้
นวดเสร็จแล้วก็บริหารยืดกล้ามเนื้อนั้นๆ จะใช้ประคบผ้าเย็นสัก 20 นาทีก็ได้ จะทานยาพาราเซตามอล(Paracetamol)
สักหน่อยก็ดี น่าจะทำให้ทุเลาได้ไม่น้อย ถ้าไม่แน่ใจจึงจะไปพบแพทย์
2.5 การใช้เครื่องมือและเทคนิคทางกายภาพบำบัด ซึ่งจะได้เห็นตัวอย่างในนิทรรศการ “หลากหลายวิธีคลายปวด” เช่น
ultrasound, laser therapy, TENS เป็นต้น
3. การฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ มีความยืดหยุ่นที่ดี และเพิ่มความแข็งแรงทนทานต่องานในชีวิตประจำวันต่างๆ ด้วยการบริหารยืด
คลายกล้ามเนื้อ แล้วตามด้วยการบริหารต้านน้ำหนักเมื่ออาการปวดลดลงในเวลาต่อมา (รายละเอียดในบท “การบริหารหัวไหล่”)
4. สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ คือ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขท่าทางอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น
ไม่ควรมีท่าทางไหล่งุ้มหรือห่อไหล่ไปข้างหน้า รวมทั้งเปลี่ยนแปลง หรือ จัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ รอบตัว
ให้รับกับท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเครียดตึงต่อกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดการบิดใช้กล้ามเนื้อที่ผิดแนว การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
เช่น ทุก ๆ 15-20 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อที่หดตัวอยู่ได้ผ่อนคลายออกบ้าง
เป็นบ่อยเลยค่ะ
ตอบลบ